เมนู

ทุกข์สิ้นกาลนานข้อนั้นเพราะเหตุแห่งอะไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่
ธรรมทั้งหลายอันโมฆบุรุษนั้นเรียนแล้วไม่ดี ดังนี้.
ส่วนปริยัติใด อันบุคคลเรียนดีแล้ว คือหวังอยู่ซึ่งความบริบูรณ์แห่ง
คุณมีสีลขันธ์เป็นต้นเรียนแล้ว มิใช่เรียนเพราะเหตุการโต้แย้งเป็นต้น ปริยัตินี้
ชื่อว่า นิสสรณัตถปริยัติ (มีความต้องการเพื่อสลัดออก)ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงหมายถึงตรัสไว้ว่า ธรรมเหล่านั้น อันกุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อประโยชน์เกื้อกูล และเพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ข้อนั้น เพราะเหตุแห่งอะไร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะธรรมทั้งหลาย อันกุลบุตรเรียนดีแล้ว.
ส่วนพระขีณาสพผู้มีขันธ์อันกำหนดรู้แล้ว ละกิเลสแล้ว มีมรรคอัน
เจริญแล้ว มีธรรมไม่กำเริบอันแทงตลอดแล้ว ทำนิโรธให้แจ้งแล้ว ย่อม
เรียนปริยัติใด เพื่อรักษาประเพณี เพื่อรักษาวงศ์อย่างเดียว ปริยัตินี้ ชื่อว่า
ภัณฑาคาริกปริยัติ (ปริยัติเปรียบด้วยขุนคลัง) ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบประเภท
แห่งปริยัติ 3 อย่าง ในพระไตรปิฎกเหล่านั้น ดังกล่าวมาแล้ว.

ว่าด้วยสมาบัติ 3 ประเภท



อนึ่ง ภิกษุผู้ปฏิบัติดีแล้ว (สุปฏิปนฺโน) ในพระวินัยอาศัยสีลสัมปทา
ย่อมบรรลุวิชชา 3 ก็เพราะตรัสประเภทแห่งวิชชา 3 เหล่านั้นนั่นแหละไว้ใน
พระวินัยนี้. ภิกษุผู้ปฏิบัติดีแล้วในพระสูตร อาศัยสมาธิสัมปทา ย่อมบรรลุ
อภิญญา 6 ก็เพราะตรัสประเภทแห่งสมาธิเหล่านั้นนั่น แหละไว้ในพระสูตรนั้น.
ภิกษุผู้ปฏิบัติดีแล้วในพระอภิธรรม อาศัยปัญญาสัมปทา ย่อมบรรลุปฏิสัมภิทา4
ก็เพราะตรัสประเภทแห่งปฏิสัมภิทาเหล่านั้นนั่นแหละไว้ ในพระอภิธรรมนั้น.
ภิกษุผู้ปฏิบัติดีแล้วในพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรมเหล่านั้น ย่อมบรรลุสมบัติ
อันต่างด้วยวิชชา 3 อภิญญา 6 และปฏิสัมภิทา 4 นี้โดยลำดับ ด้วยประการฉะนี้.